วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta )


ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta )
เป็นโปรตีสต์ที่มีช่วง ชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์และช่วงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช ได้แก่ ราเมือก (Slime mold) เป็นต้น มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. มีเซลล์เป็นแบบยูคาริโอต ไม่มีผนังเซลล์ไม่มีคลอโรฟิลล์ประกอบด้วยกลุ่มของ โปรโตปลาสซึมที่แผ่กระจายมีลักษณะเป็นเมือก
2. การสืบพันธุ์มีวงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์สลับกับวงชีวิตคล้ายพืช คือ ในภาวะปกติของชีวิต มีลักษณะเป็นกลุ่มของโปรโตปลาสซึม แผ่กระจายคล้ายแผ่นวุ้น เซลล์แต่ละเซลล์ไม่มีผนังกั้น จึงทำให้นิวเคลียสกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ มองดูคล้ายร่างแหเรียกว่า พลาสโมเดียม ( Plasmodium ) สามารถเคลื่อนที่และกินอาหารได้แบบอะมีบา ( Amoeboid movement ) พอถึงระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือกจะสร้างอับสปอร์ ( Sporangium ) ซึ่งภายในมีสปอร์ที่มีผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเช่นเดียวกับพืช
3. ราเมือกดำรงชีวิตแบบภาวะมีการย่อยสลาย ( saprophytism ) แต่มีบางชนิด เช่น พลาสโมดิโอฟอรา ( plasmodiophora ) ทำให้เกิดโรครากโป่งในกะหล่ำปลีและผักอื่นๆ
วงชีพของราเมือก
ใน ระยะที่เรามักเห็นราเมือกได้ชัด คือ ภาวะปกติของราเมือกจะมีลักษณะคล้ายแผ่นวุ้นขนาดใหญ่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก รวมกันโดยไม่มีผนังกั้นเซลล์ จึงเห็นเป็นแผ่นมีนิวเคลียสจำนวนมาก มองดูคล้ายกับมีร่างแหอยู่ในแผ่นวุ้น ราเมือกอาจมีสีส้ม เหลือง ขาว หรือ ใส แผ่นวุ้นนี้เคลื่อนที่ได้คล้ายอะมีบาเรียกระยะนี้ว่า พลาสโมเดียม ต่อมาถึงระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือกจะหยุดเคลื่อนที่และเริ่มสร้างอับสปอร์ ระยะนี้เรียก ฟรุตติ้ง บอดี ( Fruiting body ) เมื่อสปอร์แก่ อับสปอร์แตกออก สปอร์ตกลงงอกเป็นเซลล์เล็กๆ เคลื่อนที่ได้ต่อมาเกิดการรวมตัวของเซลล์เล็กๆนี้เข้าด้วยกัน เป็นไซโกต ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นแผ่นวุ้นเคลื่อนที่หากินต่อไป ดังนั้น วงชีวิตของราเมือกจึงเป็นแบบสลับ ( alternation of generation )
ความสำคัญของราเมือก
1. ดำรงชีพภาวะย่อยสลาย ช่วยให้เกิดการสลายตัวของซากและสิ่งปฏิกูลต่างๆ
2. บางชนิดเป็นปรสิต เช่น พลาสโมดิโอฟอรา ( Plasmodiophora ) ทำให้เกิดโรครากโป่งในกะหล่ำปลีและผักอื่นๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น