ไฟลัมยูไมโคไฟตา ( Phylum Eumycophyta)
สมาชิกในไฟลัมนี้เรียก ราแท้ (True fungi) ตัวอย่างได้แก่ เห็ด รา ยีสต์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucariyotic cell) ส่วนมากมีหลายเซลล์ ยกเว้น ยีสต์ซึ่งมีเซลล์เดียว
2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้ ต้องใช้อาหารจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
3. ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส ไคติน (chitin) และลิกนิน
4. ร่างกายประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใย เส้นใยแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา (Hypha) เส้นใยเหล่านี้มักรวมกันเป็นกระจุกเรียกว่า ไมซีเลียม (Mycelium) ในเห็ดเส้นใยมาอัดกันอยู่แน่นเป็นโครงสร้างสำหรับสร้างสปอร์ คือ ฟรุดติง บอดี (Fruiting body) ที่เรียกกันว่าดอกเห็ดนั่นเอง ยกเว้นในยีสต์ที่มีเพียงไฮพาเพียงอันเดียว เพราะมีเซลล์เดียว ไฮพาทำหน้าที่หลั่งน้ำย่อย ย่อยซากสิ่งมีชีวิต และสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้อีกด้วย เส้นใยของราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (septate hypha) คือ เส้นใยที่มีผนังกั้นทำให้มองดูเป็นห้องที่มีไซโตปลาสซึมและนิวเคลียส
4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (nonseptate hypha) คือ เส้นใย ที่ไม่มีผนังกั้นทำให้มองดูทะลุตลอดเส้นใย ประกอบด้วยไซโตปลาสซึมและนิวเคลียสหลายนิวเคลียสกระจายอยู่ตลอดเส้นใย
5. การดำรงชีพเป็นผู้ย่อยอินทรียสารโดยการหลังน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารแล้วจึงดูด อาหารโมเลกุลเล็กกลังเข้าสู่เซลล์ ไมซีเลียมอาจปรากฏเป็นกระจุกอยู่บนผิวหรือภายใต้ผิวของก้อนอาหาร เห็ดราบางชนิดที่เป็นปรสิตจะมีเส้นใยพิเศษ เรียกว่า ฮอสทอเรียม (Houstorium) แทงเข้าไปดูดอาหารจากเซลล์ของโฮสต์โดยตรง
6. รามีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัย เพศและแบบไม่อาศัยเพศ แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัว (fission) การแตกหน่อ (budding) การหักหรือขาดออกของสาย (fragmentation) และการสร้างสปอร์ (spore formation) สำหรับแบบอาศัยเพศโดยการเทียบสาย (conjugation) แล้วมีการเคลื่อนตัวของไซโตปลาสซึม และนิวเคลียสเข้าผสมกัน เห็ดราเป็นผู้ย่อยอินทรียสารที่สำคัญมาก แต่ก็มีบางชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์ เช่น ทำให้อาหารบูดเสีย ทำให้เกิดโรคแก่สัตว์และพืช ทำให้บ้านเรือน เสื้อผ้า และเครื่องใช้เสียหาย เป็นต้น
นักอนุกรมวิธานบางท่านได้จัดแบ่งเห็ดราไว้เป็นไฟลัมยูไมโคไฟตา ซึ่งแบ่งเป็น 4 คลาส คือ
1.คลาสไฟโคไมซีดีส (Class Phycomycetes)
2.คลาสแอสโคไมซีตีส (Class Ascomycetes)
3.คลาสเบสิดิโอไมซีคีส (Class Basidiomycetes)
4.คลาสดิวเตอโรไมซีตีส (Class deuterromycetes)
สมาชิกในไฟลัมนี้เรียก ราแท้ (True fungi) ตัวอย่างได้แก่ เห็ด รา ยีสต์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucariyotic cell) ส่วนมากมีหลายเซลล์ ยกเว้น ยีสต์ซึ่งมีเซลล์เดียว
2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้ ต้องใช้อาหารจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
3. ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส ไคติน (chitin) และลิกนิน
4. ร่างกายประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใย เส้นใยแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา (Hypha) เส้นใยเหล่านี้มักรวมกันเป็นกระจุกเรียกว่า ไมซีเลียม (Mycelium) ในเห็ดเส้นใยมาอัดกันอยู่แน่นเป็นโครงสร้างสำหรับสร้างสปอร์ คือ ฟรุดติง บอดี (Fruiting body) ที่เรียกกันว่าดอกเห็ดนั่นเอง ยกเว้นในยีสต์ที่มีเพียงไฮพาเพียงอันเดียว เพราะมีเซลล์เดียว ไฮพาทำหน้าที่หลั่งน้ำย่อย ย่อยซากสิ่งมีชีวิต และสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้อีกด้วย เส้นใยของราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (septate hypha) คือ เส้นใยที่มีผนังกั้นทำให้มองดูเป็นห้องที่มีไซโตปลาสซึมและนิวเคลียส
4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (nonseptate hypha) คือ เส้นใย ที่ไม่มีผนังกั้นทำให้มองดูทะลุตลอดเส้นใย ประกอบด้วยไซโตปลาสซึมและนิวเคลียสหลายนิวเคลียสกระจายอยู่ตลอดเส้นใย
5. การดำรงชีพเป็นผู้ย่อยอินทรียสารโดยการหลังน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารแล้วจึงดูด อาหารโมเลกุลเล็กกลังเข้าสู่เซลล์ ไมซีเลียมอาจปรากฏเป็นกระจุกอยู่บนผิวหรือภายใต้ผิวของก้อนอาหาร เห็ดราบางชนิดที่เป็นปรสิตจะมีเส้นใยพิเศษ เรียกว่า ฮอสทอเรียม (Houstorium) แทงเข้าไปดูดอาหารจากเซลล์ของโฮสต์โดยตรง
6. รามีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัย เพศและแบบไม่อาศัยเพศ แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัว (fission) การแตกหน่อ (budding) การหักหรือขาดออกของสาย (fragmentation) และการสร้างสปอร์ (spore formation) สำหรับแบบอาศัยเพศโดยการเทียบสาย (conjugation) แล้วมีการเคลื่อนตัวของไซโตปลาสซึม และนิวเคลียสเข้าผสมกัน เห็ดราเป็นผู้ย่อยอินทรียสารที่สำคัญมาก แต่ก็มีบางชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์ เช่น ทำให้อาหารบูดเสีย ทำให้เกิดโรคแก่สัตว์และพืช ทำให้บ้านเรือน เสื้อผ้า และเครื่องใช้เสียหาย เป็นต้น
นักอนุกรมวิธานบางท่านได้จัดแบ่งเห็ดราไว้เป็นไฟลัมยูไมโคไฟตา ซึ่งแบ่งเป็น 4 คลาส คือ
1.คลาสไฟโคไมซีดีส (Class Phycomycetes)
2.คลาสแอสโคไมซีตีส (Class Ascomycetes)
3.คลาสเบสิดิโอไมซีคีส (Class Basidiomycetes)
4.คลาสดิวเตอโรไมซีตีส (Class deuterromycetes)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น