วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมาชิกภายในกลุ่ม

สมาชิกภายในกลุ่ม
1.นายชาตรี กะชงรัมย์
2.นางสาวอรุณรัตน์ อัมรัมย์
3.นางสาวจันทร์จิรา กรอบรัมย์
4.นางสาวอลิสา อุ่นรัมย์
5.นางสาวยุพิน ยอดสิงห์
6.นางสาววราพร ชุมพลไกรษร
7.นางสาวกรองทอง ทองสะอาด

อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)


อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)

การจัดแบ่งสิ่งมี ชีวิตออกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์นั้นเกิดปัญหาที่สำคัญคือสิ่งมีชีวิต บางชนิดมีลักษณะทั้งพืชและสัตว์อยู่ในตัวเอง จึงทำให้นักพฤกษศาสตร์จัดไว้ในอาณาจักรพืช และนักสัตววิทยาก็จัดไว้ในอาณาจักรสัตว์ ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอยู่ทั้งสองอาณาจักร ดังนั้น Ernst Haeckel นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจึงได้ เสนอชื่อ โปรติสตา (protista) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตพวกแรก ๆ ขึ้นมาใช้ จึงทำให้แยกสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีลักษณะของพืชหรือสัตว์ อย่างชัดเจน ออกจากอาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ แล้วตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ ชื่อ "อาณาจักรโปรติสตา"

ลักษณะสำคัญของโปรติสต์ (Protist)

1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ
2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)
4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ
5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้
6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตามีดังนี้
1. โปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตในไฟลัมโปรโตซัว คือ พวกโปรโตซัวหรือที่เราเรียกว่า สัตว์เซลล์เดียว
2. โปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายพืช ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า พวกสาหร่าย (algae) แบ่งออกเป็น 6 ไฟลัม คือ
2.1 ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีเขียว
2.2 ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง
2.3 ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta) ได้แก่ พวกยูกลีนา (จัดอยู่ในพวกโปรโตซัวด้วย )
2.4 ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta) ได้แก่ พวกสาหร่ายสีน้ำตาล
2.5 ไฟลัมไพร์โรไฟตา (Phylum Pyrrophyta) ได้แก่ พวกสาหร่ายเปลวไฟ หรือไดโนแฟลกเจลเลต (dinoflagellate) จัดอยู่ในพวกโปรโตซัวด้วย
2.6 ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีแดง
3. โปรติสต์พวกเห็ดรา และราเมือก แบ่งออกเป็น 2 ดิวิชัน คือ
3.1 ไฟลัมยูไมโคไฟตา (Phylum Eumycophyta) ได้แก่ พวกเห็ด รา ยีสต์
3.2 ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophata) ได้แก่ ราเมือก

ไฟลัมโปรโตซัว (Phylum Protozoa)


ไฟลัมโปรโตซัว (Phylum Protozoa)

โปรโตซัว เป็นโปรติสต์เซลล์เดียวที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ ในตอนแรกจึงถูกจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. เป็นเซลล์เดียวบางชนิดเป็นเซลล์อยู่เดี่ยว ๆ บางชนิดรวมกันเป็นกลุ่ม (colony) มีขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
2. ไม่มีอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใด ๆ มีออร์กาแนลทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเซลล์
3. มีเซลล์เมมเบรนเป็นกรอบของเซลล์บางชนิดมีโครงแข็งหุ้มเป็นสารพวกเซลลูโลส หรือเจลาติน
4. ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว โดยคอนแทรกไทล์ แวคิวโอล นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ด้วย จึงเรียกคอนแทรไทล์ของโปรโตซัวว่าเป็น ออสโมเรกูเลเดอร์ (osmoregulator)
5. การดำรงชีวิตมีทั้งที่หากินเป็นอิสระในน้ำเน่า เช่น อะมีบา สังเคราะห์ด้วยแสง สร้าง อาหารได้เอง เช่น ยูกลีนา เป็นปรสิต เช่น เชื้อไข้จับสั่น
6. การสืบพันธุ์ ตามปกติจะสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ คือการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ คือการเข้าจับคู่กันหรือการคอนจูเกชัน (conjugation)
7. การเข้าเกราะ (encystment) พบในโปรโตซัวหลายชนิด เช่นยูกลีนา จะเข้าเกราะเมื่อ สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
8. รูปร่างมีหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่ ยาวรี หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน
9. อวัยวะเคลื่อนที่ของโปรโตซัวในแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกัน ซึ่งจะนำมาใช้ในการแบ่ง หมวดหมู่ระดับคลาส เช่น มีแฟลกเจลลา ซีเลีย เป็นต้น


ไฟลัมคลอโรไฟตา ( Phylum Chlorophyta )


ไฟลัมคลอโรไฟตา ( Phylum Chlorophyta )
ไฟลัมคลอโรไฟตา ( Phylum Chlorophyta ) ได้แก่สาหร่ายสีเขียว ( green algae) มีทั้วหมดประมาณ 17,500 สปีชีส์ พบอยู่ในน้ำจืดมากกว่าในน้ำเค็ม พบในดินที่เปียกชื้น แม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ และในทะเล มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. จำนวนเซลล์มีทั้งพวกเซลล์เดี่ยวหรือหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายยาว หรือรวมกันเป็นกลุ่ม มีทั้งเคลื่อนที่ได้ และเคลื่อนที่ไม่ได้
- พวกเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ได้ โดยมีแฟลกเจลลัมใช้โบกพัด จำนวน 2-4 เส้น เช่น แคลมมิโดโมแนส ( Chlamydomonas )
- พวกเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ไม่ได้ โดยไม่มีแฟลกเจลลัม เช่น คลอเรลลา (Chlorella) คลอโรคอคคัม (Chlorococcoum)
- พวกหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายยาว เช่น ยูโลทริกซ์ (Ulothrix) อีโดโกเนียม (Oedogonium) สไปโรไจรา หรือเทาน้ำ (Spirogyra)
- พวกหลายเซลล์เป็นกลุ่ม (Clolnial forms) เช่น วอลวอกซ์ (Volvox) เพดิแอสดรัม (Pediastrum) ซีนเตสมัน (Scenedesmus)
2. รงควัตถุที่พบจะเป็นเช่นเดียยวกับที่พบในพืชชั้นสูง คือ มีคลอโรฟิลล์ เอ, คลอโรฟิลล์ บี, คาโรทีน และแซนโทฟิลล์ รงควัตถุทั้งหมดนี้จะประกอบกันด้วยอัตราส่วนที่เหมือนกับพวกพืชชั้นสูงจึงทำ ให้มีสีเขียวสด รงควัตถุทั้งหมดนี้จะรวมกันอยู่ในเม็ดสี หรือพลาสติด (Plastid) ที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ โดยอาจจะมี 1 อัน หรือมากกว่า 1 อัน คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายสีเขียวมีรูปร่างหลายแบบ เช่น
- รูปร่างเป็นเม็ด ๆ พบใน ไบรออปซิส (Bryopsis)
- รูปร่างเป็นเกลียว พบใน สไปโรไจรา (Spirogyra)
- รูปร่างเป็นคล้ายร่างแห พบใน อีโดโกเนียม (Oedogonium)
- รูปร่างเป็นแผ่น พบใน ยูโลทริกซ์ (Ulothrix)
- รูปร่างเป็นรูปดาว พบใน ซิกนีมา (Zygnema)
- รูปร่างเป็นรูปตัว U พบใน คลอเรลลา (Chlorella)
3. โครงสร้างของผนังเซลล์ ประกอบด้วย เซลลูโลส (Cellulose) บางชนิดมีเปกติน (Pectin) เคลือบอยู่ภายนอกบาง ๆ บางชนิดมีแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate)
4. อาหารที่เก็บไว้ก็คือ ไพรีนอยด์ (Pyrenoids) อยู่ในเม็ดคลอโรพลาสต์ เข้าใจว่าไพรีนอยด์เป็นโครงสร้างที่มีโปรตีนเป็นแกนกลาง และมีแผ่นแป้งหุ้มล้อมรอบอยู่
5. การสืบพันธุ์
- แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ในพวกเซลล์เดียว หรือหักสาย (Fragmentation) หรือสร้างสปอร์
- แบบอาศัยเพศ โดยคอนจูเกชัน (Conjugation) หรือการปฏิสนธิ (Fertilization)
6. แหล่งที่อยู่ สาหร่ายสีเขียวพบในน้ำจืดเป็นส่วนใหญ่ ในน้ำเค็มก็มีบ้างตามที่ชื้นแฉะทั่วไป เปลือกไม้ ใบไม้ ก้อนหินเปียก ๆ และบนหิมะก็มี บางชนิดอยู่ในภาวะพึ่งพากับรา เกิดเป็นไลเคน บางชนิดก็เป็นปรสิตของพืชชั้นสูง

ความสำคัญของสาหร่ายสีเขียว

1. สาหร่ายบางชนิดให้โปรตีนสูง เช่น ซีนเดสมัส (Scenedesmus) คลอเรลลา (Chlorella) และเพดิแอสตรัม (Pediastrum) จึงนำมาประกอบอาหารประเภทโปรตีนได้บางชนิดเป็นอาหารของสัตว์น้ำทั้งในน้ำจืด และน้ำเค็ม เทาน้ำหรือสไปโรไจรานั้น ทางภาคอีสานนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ แต่มีโปรตีนต่ำ
2. สาหร่ายสีเขียวจะช่วยทำให้น้ำบริสุทธิ์โดยจะใช้ CO2 สังเคราะห์แสงและปล่อย O2 ออกมา
3. สาหร่ายสีเขียวเป็นผู้ผลิตที่มีมากที่สุดในน้ำจืดจึงมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหารของระบบนิเวศ

ไฟลัมคริโซไฟตา ( Phylum Chrysophyta )


ไฟลัมคริโซไฟตา ( Phylum Chrysophyta )
ไฟลัมคริโซไฟตา ( Phylum Chrysophyta ) มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง ( goldenbrown algae ) มีประมาณ 16,600 สปีชีส เป็นผู้ผลิตที่มีมากที่สุดในทะเล
2. รงควัตถุที่พบในเซลล์มีรงควัตถุสีเขียว คือ คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี และมีรงควัตถุสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทิน (Fucoxanthin) ซึ่งมีมากที่สุดถึง 75 % ของรงควัตถุทั้งหมด และลูเทอริน (Luthein) ปริมาณมากกว่าคลอโรฟิลล์จึงทำให้มีสีน้ำตาลแกมทอง
3. มีทั้งพวกเซลล์เดียวและหลายเซลล์อยู่กันเป็นสายหรือรวมเป็นกลุ่ม
4. ผนังเซลล์มีสารพวกซิลิกา (Sillica) สะสมอยู่ประมาณ 95% ทำให้มีลวดลายสวยงามมาก ผนังเซลล์ที่มีซิลิกาเรียก ฟรุสตุล (Frustule) ฟรุสตุลประกอบด้วย ฝา 2 ฝา ครอบกันอยู่สนิทแน่น แต่ละฝาเรียกทีกา (Theca) ฝาบนเรียก อีพิทีกา (Epitheca) มีขนาดใหญ่กว่าครอบอยู่บนฝาล่างซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย เรียก โฮโปทีกา (Hypotheca)
5. อาหารสำรองภายในเซลล์คือ หยดน้ำมัน (Oil droplet) และเม็ดเล็ก ๆ ของสารประกอบคาร์โบโฮเดรตชนิดพิเศษ เรียกว่า ลิวโคซิน (Leucosin) หรือ คริโซลามินารีน (Chrysolaminarin)
6. การสืบพันธุ์มีทั้งแบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งเซลล์ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนที่พบเสมอ ๆ ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบอาศัยเพศ

ความสำคัญของสาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง
1. เป็นผู้ผลิตที่มากที่สุดในทะเล เป็นอาหารของปลา
2. เปลือกของไดอะตอมที่ทับถมกันอยู่มาก ๆ เป็นเวลานาน เรียกว่า ไดอะตอมเอเชียส เอิร์ธ (Diatomaceous earth) หรือไดอะตอมไมท์ (Diatomite) มีชื่อทางการค้าว่า Kieselguhr ในสมัยก่อนเคยใช้ในการกรองน้ำยาต่าง ๆ ใช้เป็นฉนวน หรือใช้ขัดเงาเครื่องโลหะต่าง ๆ ผสมยาสีฟัน ใช้ในการทำ dynamite ผสมในสีสะท้อนแสง ไดอะตอมเอเชียส เอิร์ธ พบมากเป็นภูเขาในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และทางภาคเหนือบางจังหวัดของประเทศไทย
3. ใช้ทดสอบเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ ถ้าเลนส์มีคุณภาพสูงจะเห็นว่าฝาของไดอะตอมเป็นจุด ๆ แต่ถ้าคุณภาพต่ำจะเห็นเป็นเส้น
4. หยดน้ำมันที่สะสมในเซลล์ของไดอะตอม เมื่อเซลล์ตายไปหยดน้ำมันเหล่านั้นจะสะสมใต้พื้นดินเป็นแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมที่สำคัญของโลก

ไฟลัมยูกลีโนไฟตา ( Phylum Euglenophyta )


ไฟลัมยูกลีโนไฟตา ( Phylum Euglenophyta )
สาหร่ายในดิวิชันนี้เรียกว่า ยูกลีนอยด์ (euglenoid) ซึ่งจัดเป็นโปรโตซัวในคลาสแฟลก เจลลาตาด้วย มีลักษณะสำคัญดังนี้
4.1 มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิด เอ และ บี คาโรทีน แซนโทฟิลล์
4.2 อาหารสะสมเป็นแป้ง เรียกว่า พาราไมลัม (Paramylum)
4.3 ไม่มีผนังเซลล์ มีแต่เยื่อเซลล์เหนียวๆ เรียกว่า Pellicle ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของเซลล์
4.4 เป็นเซลล์เดียวมีแฟลกเจลลา 1-3 เส้นอยู่ทางด้านหน้า
4.5 ตัวอย่างของสาหร่ายดิวิชันนี้ได้แก่
- ยูกลีนา (Euglena) และฟาคัส (Phacus) มีแฟลก เจลลัม 1 เส้นอยู่ทางด้านหน้า อาศัยอยู่ในน้ำจืดและในดินที่ชื้นแฉะ

ไฟลัมพีโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)


ไฟลัมพีโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)
ไฟลัมพีโอไฟตา (Phylum Phaeophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. สาหร่ายในไฟลัมพีโอไฟตา เรียกโดยทั่วไปว่าสาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) ทั้งนี้เพราะมีรงควัตถุที่ทำให้เกิดสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทีน (Fucoxanthin) อยู่มากกว่าคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี สาหร่ายสีน้ำตาลมีมากในทะเลตามแถบชายฝั่งที่มีอากาศเย็น มีเพียง 35 จีนัสที่พบในน้ำจืด สาหร่ายสีน้ำตาลมักเรียกชื่อทั่วไปว่า sea weed เพราะเป็นวัชพืชทะเล
2. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสและกรดอัลจินิก (alginic acid) ซึ่งสามารถสกัดสารอัลจิน (algin) มาใช้ประโยชน์ได้
3. รูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่มองเห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมีรูปร่างเป็นสายยาวแตกกิ่งก้าน เช่น Ectocarpus บางชนิดมีรูปร่างเป็นแผ่นแผ่แบนหรือคล้ายใบไม้โบกไหวอยู่ในน้ำ เช่น Laminaria บางชนิดคล้ายต้นปาล์มขนาดเล็กเรียกว่า Sea palm บางชนิดคล้ายต้นไม้เล็ก ๆ เช่น Sargassum หรือสาหร่ายนุ่น หรือรูปร่างคล้ายพัด เช่น Padina
4. สาหร่ายสีน้ำตาลมีหลายเซลล์ พวกที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า เคลป์ (Kelp) ซึ่งอาจมีความยาว 60-70 เมตร เช่น Macrocystis , Nereocystis พวกที่มีขนาดใหญ่มักมีลักษณะเหมือนพืชชั้นสูงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
4.1 โฮลด์ฟาสต์ (Haldfast) คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นราก สำหรับยึดเกาะแต่ไม่ได้ดูดแร่ธาตุเหมือนพืชชั้นสูง โฮลด์ฟาสต์ของพวกนี้สามารถแตกแขนงได้มาก และยึดเกาะได้แข็งแรง
4.2 สไตป์ (Stipe) หรือคอลลอยด์ (Colloid) คือส่วนที่อยู่ถัดจากรากขึ้นมาทำหน้าที่คล้ายลำต้น
4.3 เบลด (Blade) หรือลามินา (Lamina) หรือฟิลลอยด์ (Phylloid) คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นใบ บางชนิดมีถุงลม (air bladder หรือ Pneumatocyst) อยู่ที่โคนใบเพื่อช่วยพยุงให้ลอยตัวอยู่ได้ในน้ำ จากลักษณะดังกล่าวจึงถือกันว่าสาหร่ายสีน้ำตาลมีวิวัฒนาการสูงสุดในบรรดา สาหร่ายด้วยกัน (ยกเว้นสาหร่ายไฟ)
5. ส่วนประกอบของผนังเซลล์ เซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาลประกอบด้วย
5.1 ผนังเซลล์ มี 2 ชั้น ชั้นในเป็นพวกเซลลูโลส ชั้นนอกเป็นสารเมือก กรดอัลจินิกซึ่งจะอยู่ที่ผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ โดยมีประมาณถึง 24% ของน้ำหนักแห้ง กรดอัลจินิกนี้เมื่อสกัดออกมาจะอยู่ในรูปของเกลืออัลจิเนต สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีคุณสมบัติเป็นตัวทำให้เกิดอิมัลชัน ( Emulsifying agent) และเป็นตัวคงรูป (Stabillzing agent)
5.2 คลอโรพลาสต์ มีเพียง 1 อัน หรือมีจำนวนมากในแต่ละเซลล์ขึ้นอยู่กับชนิด คลอโรพลาสต์ จะมีลักษณะกลมแบน (Platelike) หรือเป็นแฉกรูปดาว ไพรีนอยด์เกิดเดี่ยว ๆ เป็นแบบมีก้านติดอยู่ข้าง ๆ คลอโรพลาสต์ โดยมีผนังคลอโรพลาสต์หุ้มรวมไว้
5.3 นิวเคลียสมีเพียง 1 อัน ในแต่ละเซลล์
5.4 อาหารสะสมมี 3 ชนิด ได้แก่
1. โพลีแซกคาไรด์ที่ละลายน้ำ ได้แก่ ลามินาริน (Laminarin) หรือลามินาเรน (Laminaran) มีปริมาณตั้งแต่ 2-34 % ของน้ำหนักแห้ง
2. แมนนิตอล (Mannitol) พบเฉพาะในสาหร่ายสีน้ำตาลเท่านั้น
3. น้ำตาลจำพวกซูโครส (Sucrose) และกลีเซอรอล (Glycerol)
6. การสืบพันธุ์ สาหร่ายสีน้ำตาลมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) คล้ายกับพืช

ความสำคัญของสาหร่ายสีน้ำตาล
- ไจแอนด์ เคลป์ (giant kelp) เป็นสาหร่ายสีน้ำตาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แผ่กระจายไปในทะเล ช่วยให้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นอาหารของสัตว์ทะเล - ลามินาลิน (Laminarin sp.) พาไดนา (Padina sp.) ฟิวคัส (Fucus sp.) นำมาสกัดสารโปตัสเซียมหรือใช้ทำปุ๋ยบำรุงดิน
- ซาร์กัสซัม (Sargussum sp.) หรือสาหร่ายทุ่น นำมาใช้ประกอบอาหารและให้โปรตีนสูง
- ลามินาเรีย (Laminaria sp.) และเคลป์ สามารถนำมาสกัดสารอัลจินซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น ทำอาหาร ยา กระดาษ ยาง สบู่ เส้นใย เป็นต้น